คมชัดลึก วันพระ 15 กันยายน 2555
‘นารีวงศ์’
ประวัติศาสตร์วัตร์ภิกษุณีแห่งแรกในสยาม ตอน ๒
พาลูกสาวออกบวชเป็นสามเณรี
พระวรธรรม / เล่าเรื่อง
อุสาห์
รงคสุวรรณ / ภาพ
การพาลูกสาวออกบวชเป็นสามเณรีกลายเป็นข่าวคึกโครมในช่วงปี
พ.ศ.๒๔๗๑-๒๔๗๒ เหตุการณ์ครั้งนั้นมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
แต่ใช่ว่านรินทร์จะพาลูกสาวออกบวชโดยไม่มีหลักการใดๆ
นรินทร์ให้เหตุผลการบวชลูกสาวของตนเป็นสามเณรีไว้ว่า
๑)
เพื่อบำรุงพุทธศาสนาให้เจริญถาวรในแผ่นดินสยาม
๒) เพื่อตอบแทนบุญคุณของแม่
๓) เพื่อตอบแทนบุญคุณแก่พระนางประชาบดีโคตมี
๔) เพื่อภิกขุณีปาฏิโมกข์ (วินัยของภิกษุณี) จะได้ไม่เป็นหมัน
๕) เพื่อผู้หญิงจะได้ไม่ต้องไปบวชเป็นชีคอยรับใช้พระ
๖) เพื่อเปิดโอกาสให้หญิงผู้มีศรัทธาได้มีโอกาสบวชเรียนปฏิบัติ
๗) เพื่อจะได้ไม่อายต่างชาติว่าที่นี่สยามประเทศผู้หญิงก็บวชได้
๘) เพื่อเป็นแบบอย่างอันดีต่อหลักธรรมเรื่องหลักตัดสินพระธรรมวินัย ๘ ประการหรือโคตมีสูตร
๙) เมื่อบวชเป็นสามเณรีแล้วจะได้พัฒนาบวชเป็นภิกษุณีต่อไปจนครบพุทธบริษัท ๔
๒) เพื่อตอบแทนบุญคุณของแม่
๓) เพื่อตอบแทนบุญคุณแก่พระนางประชาบดีโคตมี
๔) เพื่อภิกขุณีปาฏิโมกข์ (วินัยของภิกษุณี) จะได้ไม่เป็นหมัน
๕) เพื่อผู้หญิงจะได้ไม่ต้องไปบวชเป็นชีคอยรับใช้พระ
๖) เพื่อเปิดโอกาสให้หญิงผู้มีศรัทธาได้มีโอกาสบวชเรียนปฏิบัติ
๗) เพื่อจะได้ไม่อายต่างชาติว่าที่นี่สยามประเทศผู้หญิงก็บวชได้
๘) เพื่อเป็นแบบอย่างอันดีต่อหลักธรรมเรื่องหลักตัดสินพระธรรมวินัย ๘ ประการหรือโคตมีสูตร
๙) เมื่อบวชเป็นสามเณรีแล้วจะได้พัฒนาบวชเป็นภิกษุณีต่อไปจนครบพุทธบริษัท ๔
เห็นได้ว่าแนวคิดรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีของนรินทร์มีความก้าวหน้ามากที่กล้าปฏิวัติให้ผู้หญิงห่มผ้าเหลืองในขณะที่พระสงฆ์ยังไม่กล้าคิดเช่นนั้น
นรินทร์ไม่มีอคติต่อเพศหญิงหากเพศหญิงจะห่มจีวรแต่เทิดทูนเพศหญิงในฐานะที่ตนเองอาศัยท้องของเพศหญิงมาเกิดแล้วเรียกการสนับสนุนให้เพศหญิงได้บวชพระว่าเป็นการตอบแทนบุญคุณแม่ซึ่งสวนทางกับแนวคิดของสังคมว่าผู้ชายต้องบวชพระเพื่อตอบแทนบุญคุณแม่
จากหลักฐานพบว่านรินทร์มีแนวคิดรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีมาตั้งแต่ก่อตั้งพุทธบริษัทสมาคม
เมื่อปี ๒๔๕๕ แล้ว เขาเขียนลงในวารสาร ‘สาระธรรม’ เดือนพฤษภาคม
พ.ศ. ๒๔๕๖ ไว้ว่า “ยั่วหญิงสัมมาทิฏฐิให้ริคิด
ประกอบกิจกู้ชาติศาสนา ตามเยี่ยงอย่างโคตมีมีแบบมา เพื่อพาลาจะได้ว่าน้อยลงเอย” เวลานั้นลูกสาวคนแรกของเขามีอายุเพียง ๓ ขวบ
ก่อนที่จะมีการพาลูกสาวออกบวชนรินทร์สัมภาษณ์ความเห็นของพระภิกษุหลายรูปว่าคิดเห็นอย่างไรหากมีการริเริ่มให้ผู้หญิงอุปสมบทเป็นภิกษุณี
มีทั้งพระที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย พระที่เห็นด้วยบางรูปถึงกับออกปากว่าจะเป็นอุปัชฌาย์บวชให้ก็มี
ผู้เขียนประเมินจากหลักฐานว่าการบรรพชาลูกสาวของนรินทร์น่าจะเกิดขึ้นราวปลายปี
พ.ศ. ๒๔๗๐ นรินทร์เปลี่ยนตึก ๗ ชั้นทำบ้านให้เป็นวัดแล้วตั้งชื่อว่า “วัตร์นารีวงศ์” แปลว่าตระกูลของผู้หญิง ใช้คำว่าวัตร์หมายถึงวัตรปฏิบัติแทนคำว่าวัด ต่อมามีสตรีอีก
๖ คนเต็มใจออกบวช รวมเป็นสามเณรีทั้งหมด ๘ รูป เป็นสามเณรีอาวุโส ๔ รูป สามเณรีรุ่นเยาว์
๔ รูป
สามเณรีรุ่นเยาว์ ๔ รูป ออกบิณฑบาตทางเรือในยามเช้า
อุปัชฌาย์ถูกปิดเป็นความลับไม่มีการเปิดเผยว่าเป็นใคร เมื่อบวชแล้วมีการเดินทางไปปรากฏตัวสร้างความเข้าใจในจังหวัดใกล้เคียง เช่น อยุธยา สุพรรณบุรี สระบุรี โดยทางเรือซึ่งเป็นการคมนาคมที่สะดวกที่สุดในสมัยนั้น เมื่อการบวชหญิงให้เป็นสามเณรีเป็นข่าวแพร่สะพัดออกไป หนังสือพิมพ์หลายฉบับไม่ว่าจะเป็น ไทยหนุ่ม ศรีกรุง หลักเมือง ต่างพากันใส่ไข่โจมตีว่าการบวชสามเณรีของลูกสาวนายนรินทร์เป็นเสี้ยนหนามแก่พระศาสนาควรมีการกำจัดหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
อุปัชฌาย์ถูกปิดเป็นความลับไม่มีการเปิดเผยว่าเป็นใคร เมื่อบวชแล้วมีการเดินทางไปปรากฏตัวสร้างความเข้าใจในจังหวัดใกล้เคียง เช่น อยุธยา สุพรรณบุรี สระบุรี โดยทางเรือซึ่งเป็นการคมนาคมที่สะดวกที่สุดในสมัยนั้น เมื่อการบวชหญิงให้เป็นสามเณรีเป็นข่าวแพร่สะพัดออกไป หนังสือพิมพ์หลายฉบับไม่ว่าจะเป็น ไทยหนุ่ม ศรีกรุง หลักเมือง ต่างพากันใส่ไข่โจมตีว่าการบวชสามเณรีของลูกสาวนายนรินทร์เป็นเสี้ยนหนามแก่พระศาสนาควรมีการกำจัดหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ด้วยการตีไข่ใส่ข่าวของหนังสือพิมพ์ เดือนมิถุนายนปีถัดมาพระสังฆราชในเวลานั้นคือกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์จึงออกประกาศแถลงการณ์คณะสงฆ์
พ.ศ.๒๔๗๑ ห้ามพระภิกษุสามเณรบวชหญิงให้เป็นสามเณรี-ภิกษุณี ใครบวชให้มีความผิดถือเป็นเสี้ยนหนามแก่พระศาสนา
แถลงการณ์คณะสงฆ์ฉบับนี้ออกมาเพื่อกันมิให้มีการบวชสามเณรีเพิ่มขึ้นและยังกันมิให้สามเณรีอุปสมบทขึ้นเป็นภิกษุณี
แต่แถลงการณ์ฉบับนี้ไม่มีอำนาจเข้าไปก้าวก่ายวัตร์นารีวงศ์ คณะสามเณรีจึงอยู่กันต่อมา
สามเณรีอาวุโส ๔ รูป ออกเดินบิณฑบาตยามเช้า มีเด็กวัดเป็นผู้หญิงเดินถือปิ่นโตตามหลัง
สร้างวัฒนธรรมนักบวชหญิงแบบใหม่ให้กับสังคมสยามในสมัยนั้น (พ.ศ. ๒๔๗๑)
นรินทร์เริ่มเห็นว่าเหตุการณ์ไม่สู้ดีจึงนำเรื่องยกที่ดินและบ้านของตนให้กับแผ่นดินซึ่งเคยทำเรื่องไว้ตั้งแต่ปี
พ.ศ.๒๔๗๐ แต่ยังไม่มีคำตอบจากราชการด้วยการนำกลับมาปัดฝุ่นทำเรื่องใหม่อีกครั้งโดยเสนอยกที่ดินและวัตร์นารีวงศ์ให้เป็นสมบัติของสงฆ์พร้อมด้วยสามเณรีอีก
๘ รูปเป็นบรรพชิตพำนักในอาราม ส่วนตนกับครอบครัวจะขอเช่าอยู่ปีละ ๑
บาทโดยมัดจำค่าเช่า ๙๙ บาทเป็นค่าเช่าล่วงหน้า ๙๙ ปี นรินทร์ทำเช่นนี้เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับคณะสงฆ์เพื่อน้อมเอาสังฆะสามเณรีและวัตร์นารีวงศ์ไปไว้ใต้ปีกคณะสงฆ์หวังคณะสงฆ์จะให้การคุ้มครองและยอมรับ
นรินทร์ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงธรรมการแต่กระทรวงธรรมการกลับปฏิเสธให้นรินทร์นำเรื่องนี้ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชๆ
มีรับสั่งให้รอมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม เมื่อประชุมเสร็จมีมติออกมาว่ามหาเถรสมาคมไม่อาจยอมรับข้อเสนอของนรินทร์เนื่องจากนรินทร์ประพฤติตนอุตรินอกรีตเป็นปฏิปักษ์แก่คณะสงฆ์ๆ
ไม่ต้องการคบหานายนรินทร์ในกาลทุกเมื่อ
เหตุการณ์ยิ่งกดดันเมื่อพระภิกษุอาจ วัย ๖๙
ปี พรรษา ๒๒ สายธรรมยุติ จำพรรษาอยู่ที่เขาย้อย จ.เพชรบุรี ถูกปักปรำว่าเป็นอุปัชฌาย์ให้ลูกสาวนรินทร์
ท่านถูกจับสึกโดยไม่มีการไต่สวน ภายหลังท่านพิสูจน์ว่าท่านมิได้เป็นอุปัชฌาย์จึงได้กลับเข้าไปบวชใหม่
คณะสามเณรียังคงดำรงความเป็นบรรพชิตอยู่เช่นนั้นอย่างต่อเนื่องถึง
พ.ศ.๒๔๗๒ มีการนำเรื่องสามเณรีเข้าสู่ที่ประชุมอภิรัฐมนตรีหลายรอบทำให้สถานการณ์กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง
เป็นเหตุให้สามเณรีอาวุโส ๔ รูปตัดสินใจชิงสึกไปเสียก่อนเพราะเกรงจะมีภัย
เหลือเพียงสามเณรีรุ่นเยาว์ ๔ รูปยังคงดำรงสมณเพศ จนกระทั่งวันที่ ๗ กันยายน
พ.ศ.๒๔๗๒ เจ้าหน้าที่ได้มาจับกุมสามเณรี ๔ รูปถึงที่วัตร์เพื่อไปว่าความกันในชั้นศาลที่ศาลเมืองนนทบุรี
ผลของคดีศาลตัดสินให้สึก สามเณรี ๓ รูปยอมเปลี่ยนชุดโดยดีแต่สามเณรีสาระไม่ยอม เธอพยายามขัดขืนจนในที่สุดผู้คุมสั่งให้นักโทษหญิงร่างใหญ่สองคนพากันจับเธอกดพื้นแล้วดึงจีวรออกในที่สาธารณะ
เธอต่อสู้จนเป็นลมสลบไป นรินทร์เห็นว่าทางราชการทำเกินกว่าเหตุ จึงเขียนโทรเลขไปกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
๗ เพื่อให้ทรงทราบความรุนแรงที่เกิดขึ้นหวังความเมตตาขณะนั้นทรงเสด็จประพาสชวาแต่ก็ไม่มีผลอะไร
สามเณรีสาระถูกจับให้เปลี่ยนชุดและถูกจำคุกเพียงรูปเดียวเป็นเวลา ๗ วันข้อหาไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งศาล
หลังจากถูกตัดสินให้สึกคงเหลือเพียงสามเณรี ๓
รูป คือสาระ จงดีกับสามเณรีรุ่นเยาว์อีก ๑ รูปยังคงดำรงเพศบรรพชิตเช่นเดิม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเธอทั้งสามได้เปลี่ยนชุดเป็นนักบวชแบบญี่ปุ่น
หลังศาลตัดสินให้สึก คงเหลือเพียงสามเณรี ๓ รูป ยังคงสมัครใจดำรงตนเป็นสามเณรี
แล้วเปลี่ยนการนุ่งห่มเป็นจีวรแบบญี่ปุ่น
ต่อมาก็กลับไปห่มจีวรแบบเดิม เมื่อสามเณรีสาระอายุครบ ๒๐ ก็อุปสมบทเป็นภิกษุณีโดยไม่มีการเปิดเผยว่าใครเป็นอุปัชฌาย์ สามเณรีและภิกษุณีดำรงอยู่ต่อมาอีก ๒-๓ ปีในที่สุดก็ลาสิกขา เนื่องจากพระบรมราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ ๗ มีใจความว่าให้นรินทร์เลิกล้มความคิดฟื้นฟูภิกษุณีเสียพระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยซึ่งเวลานั้นยังเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เหลือเพียงตำนานสามเณรี-ภิกษุณีในภาพถ่ายเก่า ๆ กับความทรงจำของคนร่วมสมัยที่เกิดยุคเดียวกับนรินทร์ ภาษิต ซึ่งก็แทบไม่เหลือใครอีกแล้ว...
หลังศาลตัดสินให้สึก คงเหลือเพียงสามเณรี ๓ รูป ยังคงสมัครใจดำรงตนเป็นสามเณรี
แล้วเปลี่ยนการนุ่งห่มเป็นจีวรแบบญี่ปุ่น
ต่อมาก็กลับไปห่มจีวรแบบเดิม เมื่อสามเณรีสาระอายุครบ ๒๐ ก็อุปสมบทเป็นภิกษุณีโดยไม่มีการเปิดเผยว่าใครเป็นอุปัชฌาย์ สามเณรีและภิกษุณีดำรงอยู่ต่อมาอีก ๒-๓ ปีในที่สุดก็ลาสิกขา เนื่องจากพระบรมราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ ๗ มีใจความว่าให้นรินทร์เลิกล้มความคิดฟื้นฟูภิกษุณีเสียพระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยซึ่งเวลานั้นยังเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เหลือเพียงตำนานสามเณรี-ภิกษุณีในภาพถ่ายเก่า ๆ กับความทรงจำของคนร่วมสมัยที่เกิดยุคเดียวกับนรินทร์ ภาษิต ซึ่งก็แทบไม่เหลือใครอีกแล้ว...
ภาพนี้ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ แสดงว่ามีการกลับมาห่มจีวรแบบเดิมหลังจากห่มแบบญี่ปุ่นได้ไม่นาน
โปรดสังเกตว่าภาพนี้สามเณรีสาระพาดสังฆาฏิไว้ที่ไหล่ซ้าย แสดงว่ามีการอุปสมบทเป็นภิกษุณีเรียบร้อยแล้ว
เวลานั้นภิกษุณีสาระอายุ ๒๑ ปี ในขณะที่สามเณรีจงดีก็มีรูปร่างสูงใหญ่ขึ้น อายุ ๑๖ ปี
ติดตามอ่านตอนจบของบทความนี้ได้ในวันพระหน้า ทางหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
ความงดงามมีอยู่ทุกๆ ที.. ที่เราอยากจะเป็น...
ตอบลบ